บทบาทหน้าที่

 

สำนักงานปลัด

            มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลและราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใด

ในองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉพาะ งานธุรการ งานสารบรรณการจัดทำทะเบียนสมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนตำบลคณะกรรมการบริหารฯ

งานพิมพ์ดีด งานอินเตอร์เน็ตตำบล งานการเจ้าหน้าที่ งานการประชุมงานการข้อบังคับตำบล งานนิติการ งานรัฐพิธีงานประชาสัมพันธ์งานจัดทำแผน

พัฒนาตำบลงานการจัดทำข้อบังคับงบประมาณประจำปี งานขออนุมัติดำเนินการตามข้อบังคับงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานส่งเสริมการศึกษา

ศาสนาและวัฒนธรรม งานนิเทศการศึกษา งานจัดการศึกษา งานทดสอบและประเมินตรวจวัดผลงานบริการและบำรุงสถานศึกษา งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ส่งเสริมกิจการศาสนาประเพณี ศิลปวัฒนธรรม งานกิจการเด็กและเยาวชนงานกีฬาและสันทนาการ งานสวัสดิการสังคม งานพัฒนาชุมชน งานจัดระเบียบ

ชุมชน งานสังคมสงเคราะห์ งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน งานพัฒนาสตรีและเยาวชน งานสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและสตรี งานอื่นที่เกี่ยวข้อง

หรือได้รับมอบหมาย รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของ ส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการ

ราชการของ องค์การบริหารส่วนตำบล แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 6 งาน

        

1.1 งานบริหารทั่วไป

      -   งานสารบรรณ

      -   งานกิจการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

      -   งานเลือกตั้งและข้อมูลการเลือกตั้ง

      -   งานตรวจสอบภายใน

      -   งานประชาสัมพันธ์

1.2 งานนโยบายและแผน

      -   งานนโยบายและแผน

      -   งานงบประมาณ

1.3 งานกฎหมายและคดี

       -   งานกฎหมายและคดี

      -   งานร้องเรียนร้องทุกข์และอุทธรณ์

1.4 งานบริหารงานบุคคล

1.5 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

       -   งานอำนวยการ

       -   งานป้องกัน

       -   งานฟื้นฟู

1.6 งานศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

       -   งานบริหารการศึกษา

       -   งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

       -   งานกิจการโรงเรียน

 

****************************************************

 

กองคลัง 

              มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงินการเก็บรักษาเงิน การตรวจเงินการหัก ภาษีเงินได้และนำส่งภาษี  

การรายงานเงินคงเหลือประจำวัน งานขออนุมัติเบิกเงินตัดปีและขอขยายเวลาเบิกจ่าย งาน จัดทำงบและแสดงฐานะทางการเงิน งบทรัพย์สิน หนี้สิน

งบโครงการเงินสะสมงานจัดทำบัญชีทุกประเภทงานทะเบียน คุมเงินรายได้-รายจ่าย  งานจัดเก็บรายได้และพัฒนารายได้ การจัดหาผลประโยชน์ จากสิ่ง

ก่อสร้างและทรัพย์สิน งานจัดทำ/ตรวจสอบบัญชีและการรับเงินในกิจการประปา งานจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล รวมถึงงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้

รับมอบหมายโดยแบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 4 งาน คือ

 

งานการเงิน 

              มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การรับเงิน การเบิกจ่าย การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน การตรวจเงิน งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน

การหักภาษีเงินได้และนำส่งภาษี การตัดโอนเงินเดือน งานเก็บรักษาเงิน งานขออนุมัติเบิกเงินตัดปี และขอขยายเวลาเบิกจ่าย รายงานเงิน คงเหลือประจำวัน

งานบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานจัดทำบัญชีทุกประเภท งานทะเบียนคุมเงินรายได้-รายจ่าย รวบรวมสถิติเงินได้ประเภทต่าง ๆ งานจัดทำงบและแสดง

ฐานะการเงิน งบทรัพย์สิน หนี้สิน งบโครงการเงินสะสม

 

งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ 

            มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานจัดเก็บรายได้และพัฒนารายได้ งานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมการจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน

งานจัดทำ/ตรวจสอบบัญชี และการรับเงินในกิจการประปา และงานจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล งานควบคุม กิจการค้าและค่าปรับ งานทะเบียนควบคุมและ

เร่งรัดรายได้

 

งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

           มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี งานพัสดุ    งานขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง งานทะเบียนเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์และยานพาหนะ

บริการด้านการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง       การประเมินภาษี  การจัดเก็บภาษี และติดตามเร่งรัดลูกหนี้ภาษีค้างชำระ

  • การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน  เป็นภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างและที่ดินซึ่ง ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ขึ้นอัตรภาษีร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี

      การยื่นแบบประเมินและชำระภาษี  ยื่นแบบ ภ.ร.ด.2 ภายในเดือนมากราคม - กุมภาพันธ์ ของทุกปี

                   หลักฐานที่ใช้ในการเสียภาษี

                    1.   สำเนาทะเบียนบ้าน/บัตรประจำตัวประชาชนผู้เสียภาษี

                    2.   สำเนาโฉนดที่ดิน – สัญญาซื้อขายโรงเรือน

                    3.   สัญญาเช่าโรงเรือน/สัญญาเช่าที่ดิน

                    4.   ทะเบียนพาณิชย์ – ทะเบียนการค้า – ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยเจ้าหน้าที่จะออกแบบแจ้ง ประเมิน (ภ.ง.ด.8) ให้ผู้รับการประเมิน (ภ.ง.ด.8) ให้ผู้รับการประเมิน ต้องนำมาชำระค่าภาษีภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการ

ประเมินฉะนั้นจะต้องเสียเงินเพิ่มดังนี้

          1.   ชำระไม่เกิน 1 เดือน กำหนดเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ของภาษีที่ค้าง

          2.   ชำระเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน กำหนดเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของภาษีที่ค้าง

          3.   ชำระเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน กำหนดเงินเพิ่มร้อยละ 7.5 ของภาษีที่ค้าง

          4.   ชำระเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน กำหนดเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีที่ค้าง

  • ภาษีป้าย   ป้ายที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ ป้ายแสดง ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าและประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือ
  • โฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรหรือภาพหรือเขียน      และสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏ ด้วยวิธีอื่น ๆ

     การยื่นแบบประเมินและชำระภาษี

               เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือน มกราคม ถึง มีนาคมของทุกปี

         1.   ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนคิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

         2.   ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและ หรือเครื่องหมายการค้า

       คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

                     3.   ป้ายดังต่อไปนี้ คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

          - ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะเป็นภาพหรือเครื่องหมายใดหรือไม่

          - ป้ายมีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

4.   ป้ายทุกประเภทที่ได้คำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษี ถ้าอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาทเสียภาษีป้ายละ 200 บาท

  • การชำระภาษีบำรุงท้องที่    ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีจัดเก็บจากเจ้าของที่ดินตามราคาปานกลางที่ดินและตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่

     •   ที่ดินต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ ที่ดินของบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

     •  กำหนดระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการ เพื่อเสียภาษีทุก ๆ 4 ปี (ภ.บ.ท.5)

     •  การชำระภาษี ภายในเดือนมกราคม-เมษายนของทุกปี การเสียเงินเพิ่ม เสียเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี

 

 

       

****************************************************

 

กองช่าง

          

            มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานสำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ ถนน อาคาร สะพาน แหล่งน้ำ ฯลฯ งานการประมาณการค่าใช้จ่ายตามโครงการ

งานควบคุมอาคาร งานก่อสร้าง งานผังเมือง งานซ่อมบำรุงทาง อาคาร สะพาน แหล่งน้ำ งานควบคุมการก่อสร้าง งานซ่อมบำรุงในกิจการประปา

จัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. รวมถึงงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 3 งาน คือ

 

งานก่อสร้าง

           มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานก่อสร้างและบูรณะถนน งานก่อสร้างและบูรณะสภาพและโครงการพิเศษ งานระบบ

ข้อมูลและแผนที่เส้นทางคมนาคม งานบำรุงรักษาเครื่องจักรและยานพาหนะ

 

งานออกแบบควบคุมอาคารและผังเมือง

            มีหน้าที่และ ความรับผิดชอบ งานสถาปัตยกรรมและมัณฑนศิลป์ งานวิศวกรรม งานการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ งานควบคุมการก่อสร้าง

อาคารงานบริการข้อมูลและหลักเกณฑ์ งานสำรวจและแผนที่ งานวางผังพัฒนาเมือง งานควบคุมทางผังเมือง งานจัดรูปที่ดินและฟื้นฟูเมือง

 

งานประสานสาธารณูปโภค มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานประสานสาธารณูปโภคและกิจการประปา งานขนส่งและวิศวกรรมจราจร งานระบายน้ำ งานจัดตำแต่งสถานที่

 

บริการด้านการขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

หลักฐานที่ต้องนำมายื่นขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้ายอาคาร

  1. สำเนาโฉนดที่ดิน/นส.3/สค.1 (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  2. สำเนาทะเบียน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. หนังสือยินยอมให้ทำการก่อสร้างในที่ดินของเจ้าของกรรมสิทธิ์ (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  4. หนังสือยินยอมจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน (ในกรณีที่ที่ดินนั้นติดจำนอง)
  5. รายการคำนวณ (ในกรณีที่เป็นการก่อสร้างอาคารตามมาตราที่ 32)
  6. แบบแปลนแผนผังของตัวอาคารที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 5 ชุด

เอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้ายอาคาร

  1. แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง, ดัดแปลง, รื้อถอนอาคาร (ข.1.), (ข.2.)
  2. หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างในที่ดิน (กรณีที่ดินนั้นเป็นของผู้อื่น)
  3. เอกสารที่เข้าข่ายตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ปี 2522 มาตรา 32

ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ดังนี้

  1. ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
  2. ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
  3. ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
  4. ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย ฉบับละ 10 บาท
  5. ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้ ฉบับละ 20 บาท
  6. ใบรับรอง ฉบับละ 10 บาท
  7. ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ฉบับละ 5 บาท

ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารสำหรับก่อสร้างหรือส่วนที่มีการดัดแปลง ดังนี้

     1. อาคารซึ่งสูงไม่เกินสองชั้นหรือสูงไม่เกิน 12 เมตร ติดตามพื้นที่ของพื้นอาคารแต่ละชั้นรวมกันตารางเมตรละ 0.50 บาท

     2. อาคารซึ่งเกินสองชั้นแต่ไม่เกินสามชั้นหรือสูงไม่เกิน 12 เมตร แต่ไม่เกิน 15 เมตร ให้คิดตามพื้นที่ของพื้นอาคารแต่ละชั้นรวมกันตารางเมตรละ 2 บาท

     3. อาคารสูงซึ่งเกินสามชั้นหรือสูงเกิน 15 เมตร ให้คิดตามพื้นที่ของอาคารแต่ละชั้นรวมกันตารางเมตรละ 4 บาท

     4. อาคารประเภทซึ่งจะต้องมีพื้นรับน้ำหนักบรรทุกชั้นใดชั้นหนึ่งเกิน 500 กิโลกรัมต่อ 1 ตารางกิโลเมตร

     5. ให้คิดตามพื้นที่ของพื้นที่อาคารแต่ละชั้นรวมกันตารางเมตรละ 4 บาท

     6. พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถและทางเข้า-ออกของรถสำหรับอาคารที่กำหนดตามมาตรา 8 (9) ให้คิดตามพื้นที่ของที่จอดรถ 

         ที่กลับรถและทางเข้า-ออกของรถรวมกันตารางเมตรละ 0.50 บาท ในกรณีที่พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถที่กลับรถและทาง เข้าออก 

         ของรถสำหรับอาคารที่กำหนดตามมาตรา 8 (9) อยู่ในอาคาหรือชั้นหนึ่งชั้นใดของอาคารไม่ต้องคิดค่าธรรมเนียมการตรวจแบบ แปลนตามวรรคหนึ่งอีก

    7. ป้ายให้คิดตามพื้นที่ของป้าย โดยเอาส่วนกว้างที่สุดคุณด้วยส่วนยาวที่สุด ตารางเมตรละ 4 บาท

    8. อาคารประเภทซึ่งต้องวัดความยาว เช่น เขื่อน ทางหรือท่อระบายน้ำ รั้วหรือกำแพง รวมทั้งประตูรั้วหรือกำแพงให้คิดตามความยาวเมตรละ 1 บาท  

       ในการคิดค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลน เศษของตารางเมตรหรือเมตรตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไปให้ถือเป็นหน่วยเต็มถ้าต่ำ กว่ากึ่งหนึ่งให้ปัดเศษทิ้งไว้ ในการคิด

       ความสูงของอาคารเป็นเมตรให้วัดจากระดับพื้นดินถึงหลังคา หรือส่วนของอาคารที่สูงที่สุด ในกรณีที่อาคารมีชั้นลอยให้คิดพื้นชั้นลอยเป็นพื้นที่ของอาคารใน   

       การคิดค่าธรรมเนียม การตรวจแบบแปลนด้วย                                                                             

****************************************************

 

กองสวัสดิการสังคม

           มีหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนโดยมีหน้าที่เกี่ยวกับงานพัฒนาชุมชน การจัดบริการสวัสดิการสังคม และการสังคมสงเคราะห์

ซึ่งเกี่ยวกับการป้องกันการแก้ไขปัญหาการพัฒนาและการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมการสงเคราะห์เพื่อการยังชีพของผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์

เพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึงเหมาะสมและเป็นธรรม กองสวัสดิการสังคม

แบ่งส่วนการบริหารภายในออกเป็น ดังนี้

          1. งานสังคมสงเคราะห์มีหน้าที่ดังนี้

               - งานสงเคราะห์ประชาชน ผู้ทุกข์ยาก ขาดแคลน ไร้ที่พึ่ง

               - งานสงเคราะห์ผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ

               - งานสงเคราะห์คนชรา คนพิการและทุพพลภาพ

               - งานสงเคราะห์ครอบครัวและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในครอบครัว

               - งานส่งเสริมและสนับสนุนองค์การสังคมสงเคราะห์ภาคประชาชน

               - งานสำรวจวิจัยสภาพปัญหาสังคมต่างๆ

               - งานส่งเสริมสวัสดิการสตรีและสงเคราะห์สตรีบางประเภท

              - งานประสานและร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการสังคมสงเคราะห์

              - งานให้คำปรึกษา แนะนำในด้านสังคมสงเคราะห์แก่ผู้มาขอรับ

              - งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

        2. งานสวัสดิการเด็กและเยาวชน มีหน้าที่ดังนี้

              - งานสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่ครอบครัวประสบปัญหาความเดือดร้อนต่างๆ

              - งานสงเคราะห์เด็กกำพร้า อนาถา ไร้ที่พึ่ง เร่ร่อน ถูกทอดทิ้ง

              - งานสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่พิการทางร่างกาย สมองและปัญญา

              - งานส่งเสริมสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน

              - งานให้คำปรึกษา แนะนำแก่เด็กและเยาวชนซึ่งมีปัญหาในด้านต่างๆ

              - งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

        3. งานพัฒนาชุมชน มีหน้าที่ดังนี้

              - งานสำรวจและจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน เพื่อรับผิดชอบในการปรับปรุงชุมชนของตนเอง

              - งานฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน

              - งานจัดระเบียบชุมชน

              - งานประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำบริการขั้นพื้นฐานไปบริการแก่ชุมชน

              - งานจัดทำโครงการช่วยเหลือในด้านต่างๆให้แก่ชุมชน

              - งานดำเนินการพัฒนาชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม

              - งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

        4. งานส่งเสริมอาชีพและพัฒนาสตรี มีหน้าที่ดังนี้

              - งานส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชน

              - งานเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาสตรี

              - งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

 

 

สายด่วน อบต.

นายอำนวย เฉลิมกลิ่น
นายก อบต.บางเลน
โทร. 034301041 ต่อ 111

เกี่ยวกับเรา

ทีมงาน อบต.บางเลน

การบริหารพัฒนาทรัพยากรบุคคล
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต

ข้อมูลการดำเนินงาน

แผนพัฒนา
ข้อบัญญัติ
รายงาน

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

คู่มือประชาชน

บุคคลตัวอย่างด้านคุณธรรมจริยธรรม
ดูทั้งหมด
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
สำนักงานขนส่งจังหวัดนครปฐม
ศาลจังหวัดนครปฐม
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครปฐม
กระทรวงต่างๆ
จังหวัดทั่วไทย
สถานศึกษาทั่วไทย
ธนาคารทั่วไทย
เว็บไซต์ช่วยค้นหา
เว็บเพื่อนบ้าน
สถิติเว็บไซต์
ขณะนี้ 2 คน
วันนี้ 37 คน
เมื่อวานนี้ 81 คน
เดือนนี้ 304 คน
เดือนที่ผ่านมา 2,338 คน
ทั้งหมด 369,661 คน
นับวันที่ 20 กรกฎาคม 2556